กลับก่อนหน้านี้
อาการสมองเสื่อมที่เกิดจากพันธุกรรม

อัลไซเมอร์เป็นกรรมพันธุ์ที่มีการถ่ายทอดสู่รุ่นลูกหลาน

อัลไซเมอร์แบ่งได้คร่าวๆ เป็น 2 ชนิด

 

  1. กลุ่มที่มีอาการตั้งแต่ก่อนอายุ 65 ปี
  2. กลุ่มที่มีอาการหลังอายุ 65 ปี

 

กลุ่มที่มีอาการก่อนอายุ 65 ปี มักจะพบความผิดปกติทางพันธุกรรมที่อาจจะถ่ายทอดแบบตรงจาก พ่อ แม่ ไปสู่รุ่นลูก เราพบการถ่ายทอดลักษณะนี้ไม่บ่อยนัก ประมาณ 120 ครอบครัวทั่วโลก (มีคนเป็นอัลไซเมอร์หลายล้านคน) ส่วนชนิดที่พบได้บ่อยกว่าคือกลุ่มที่มีอาการหลังอายุ 65 ปี ซึ่งจะพบลักษณะสายพันธุกรรม = ยีน (Gene) บางอย่างได้บ่อยขึ้น เราะเรียกว่าเป็น “ยีนเสี่ยง” ที่จะพบอัลไซเมอร์ได้บ่อยกว่าในคนที่ไม่มียีนนี้ การที่เรียกว่ายีนเสี่ยง เพราะพบยีนนี้ในผู้ป่วยอัลไซเมอร์มากกว่าในคนปกติ แต่คนที่มียีนอาจจะเป็นโรคก็ได้หรือไม่เป็นก็ได้ และคนที่ไม่มียีนนี้ก็อาจจะเป็นโรคก็ได้เช่นกัน

 

การเจาะเลือดจะบอกได้เพียงว่ามียีนอะไรอยู่ในตัวบ้าง แต่ไม่อาจจะชี้ชัดว่าจะต้องเป็นอัลไซเมอร์ ในขณะนี้เชื่อกันว่าจะต้องมี “อะไร” มากระตุ้นยีนจึงเกิดโรคได้ ส่วนสิ่งที่มากระตุ้นนั้นยังไม่ทราบว่าเป็นอะไรแน่ จึงไม่แนะนำให้ลูกหลานผู้ป่วยอัลไซเมอร์เจาะเลือด เพราะไม่อาจให้การวินิจฉัยเฉพาะเจาะจงได้ คนที่มีญาติเป็นอัลไซเมอร์ ขอให้ทำใจให้สบายฝึกจิตคิดแต่สิ่งที่ดีงามรู้จักการให้แล้วก็คิดว่าทุกอย่างที่เกิดขึ้นกับมนุษย์นี้ล้วนมีลิขิตมาแล้ว ศาสนาพุทธก็เชื่อว่าเป็นผลแห่งกรรม ถ้าทำใจได้อย่างนี้วันหนึ่งถ้าจะต้องเป็น คงต้องเป็น ถ้าไม่เป็นก็ไม่เป็น อย่าได้มีความทุกข์ติดตัวเลย การเจาะเลือดนั้นจะบอกได้ว่าคุณมีพันธุกรรมที่ผิดปกติอยู่หรือไม่ บอกได้แต่เพียงว่ามีหรือไม่มี แต่บอกไม่ได้ว่าคุณจะเป็นหรือไม่เป็น ทั้งนี้ต้องดูอาการต่อไปข้างหน้า

บทความที่เกี่ยวข้อง