กลับก่อนหน้านี้
ภาวะความทรงจำบกพร่อง

แปลสรุป โดย พิชยนันท์  วัฒนวิทูกูร

 

 

เมื่ออายุมากขึ้น ความสามารถของสมองเช่น เรื่องความจำ การคิดตัดสินใจ จะมีความเสื่อมถอยลงบ้าง เป็นธรรมดา แต่หากความสามารถของสมองนี้ ลดลงมากกว่าในคนวัยเดียวกัน ก็เป็นไปได้ว่าผู้สูงอายุอาจมีภาวะความทรงจำบกพร่อง (Mild Cognitive Impairment) แต่แม้ความสามารถของสมองจะลดลง แต่ก็ยังไม่สงผลกระทบต่อการทำกิจวัตรประจำวัน ต่างจากผู้มีภาวะสมองเสื่อมที่ความสามารถของสมองที่ลดลงนั้นกระทบต่อการประกอบกิจวัตรประจำวัน

ผู้มีภาวะความทรงจำบกพร่องจะมีความเสี่ยงเพิ่มขึ้นที่อาการจะพัฒนากลายเป็นสมองเสื่อมประมาณ 10-15 เปอร์เซ็นต์ และส่วนมากจะเป็นโรคอัลไซเมอร์ แต่จากการศึกษาทั่วโลกก็พบว่าผู้มีภาวะความทรงจำบกพร่องจำนวนมาก ที่เข้ารับการรักษาอย่างจริงจัง ซึ่งรวมไปถึงการปรับวิถีการดำเนินชีวิตใหม่ ให้สร้างเสริมสุขภาพสมอง ช่วยให้สามารถประคองอาการไม่ให้รักษาระดับศักยภาพสมองไม่ให้ลดลงจนกลายเป็นสมองเสื่อมหรืออาจสามารถรักษาให้หายได้ แต่ทั้งนี้ก็ขึ้นกับสาเหตุที่ทำให้เกิดภาวะความทรงจำบกพร่องและอาการเมื่อเริ่มเข้ารับการรักษาด้วยเช่นกัน

 

อาการพึงสังเกต

  • ความจำ                ลืมเรื่องที่เพิ่งเกิดขึ้นในระยะไม่เกิน 2สัปดาห์
  • ตรรกะการคิด        รู้สึกติดขัดในการคิดวิเคราะใช้เหตุผลแก้ปัญหา อาจมีวิธีคิดทำอะไรแปลกๆไปจากคนทั่วไป
  • สมาธิ                    วอกแวก สมาธิสั้น
  • ภาษา                    นึกคำพูดไม่ออก เลือกใช้คำเพื่อสื่อสารไม่ถูก เรียกสิ่งของไม่ถูก
  • การมองเห็น           พบปัญหาประมาณความลึกหรือระยะห่างของวัตถุที่อยู่ตรงหน้า หรืองงกับภาพวาดมีมิติ

 

อาการเหล่านี้มักถูกพบโดยคนใกล้ชิดหรือ ตัวผู้สูงอายุเอง แต่ทั้งนี้ทั้งนี้ ผู้สูงอายุก็จะยังดำเนินชีวิตได้ปกติหากให้เวลาทำกิจกรรมนั้นๆมากขึ้น หรือได้รับความช่วยเหลือเพียงเล็กน้อย หากพบอาการเหล่านี้ ไม่ควรรอช้า พาผู้สูงอายุควรเข้าพบแพทย์เพื่อเข้ารับการทดสอบเพื่อให้ได้รับการวินิจฉัยที่ถูกต้อง หากพบว่ามีภาวะความทรงจำบกพร่องจริง นับว่าเป็นเรื่องดี นั่นคือเรายังได้รับโอกาสโค้งสุดท้ายที่จะปรับเปลี่ยนการดำเนินชีวิตของเราไม่ให้เป็นสมองเสื่อมได้

 

ข้อมูลอ้างอิง

Alzheimer's Society UK (https://www.alzheimers.org.uk/info/20007/types_of_dementia/16/mild_cognitive_impairment_mci)

บทความที่เกี่ยวข้อง