กลับก่อนหน้านี้
กิจกรรมเนื่องในเดือนอัลไซเมอร์โลก
17 ก.ย. 2560

ทุกๆ 3 วินาที ทั่วโลกจะมีผู้ป่วยสมองเสื่อมเพิ่มขึ้น 1 ราย สำหรับประเทศไทย ปัจจุบันมีผู้ป่วยสมองเสื่อมประมาณ 600,000 คน และคาดว่าจะเพิ่มสูงขึ้นเป็น 1,117,000 คนภายในปี พ.ศ.2573 องค์กรอัลไซเมอร์นานาชาติได้กำหนดให้วันที่ 21 กันยายน เป็นวันอัลไซเมอร์โลกและขอให้ประเทศสมาชิกจัดงานในเดือนกันยายนซึ่งเป็นเดือนอัลไซเมอร์ตลอดทั้งเดือน สมาคมผู้ดูแลผู้ป่วยสมองเสื่อม จึงร่วมกับคณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี จัดกิจกรรมเนื่องในเดือนอัลไซเมอร์โลก ขึ้นในวันที่ 17 กันยายน 2560 ณ ศูนย์การแพทย์สมเด็จพระเทพรัตน์ คณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลรามาธิบดี

 

              การจัดงานในวันนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ

1.สร้างความตระหนักสาธารณะให้กับประชาชนเพื่อรู้จัก เข้าใจ เรื่องสมองเสื่อมให้กว้างขวางและลึกซึ้งขึ้นเพื่อที่จะได้ค้นพบผู้ป่วยโดยเร็ว  ให้การวินิจฉัยดูแลอย่างเหมาะสมเพื่อยกคุณภาพชีวิตของผู้ป่วย ผู้ดูแล และครอบครัวให้ดีขึ้น

2.ให้เครือข่าย ซึ่งประกอบด้วย ผู้ที่มีความสนใจส่วนตัวและองค์กร สถาบันทั้งภาครัฐและเอกชนที่ได้พัฒนา ปรับปรุงรูปแบบการช่วยเหลือเรื่องสมองเสื่อมในแง่มุมต่างๆ

ทั้งหมดนี้เพื่อเป็นการปูพื้นความตระหนักเกี่ยวกับเรื่องสมองเสื่อมให้กับสังคม เพื่อเป็นฐานให้สังคมไทย ก้าวไปสู่ Dementia Friendly Community หรือ สร้างสังคมที่เป็นมิตรกับผู้ป่วยสมองเสื่อม

 

โดยกิจกรรมภายในงานประกอบด้วย การเสวนา “นวัตกรรมเพื่อคนหาย...การรอคอยต้องมีวันสิ้นสุด” ซึ่งได้รับเกียรติจากผู้ดูแลผู้ป่วยสมองเสื่อมมาร่วมแบ่งปันประสบการณ์ตรง ปัญหาเรื่องคนหายถือเป็นปัญหาที่มีความสำคัญในสังคมและพบได้บ่อย      กรมกิจการผู้สูงอายุ กระทรวงพัฒนาสังคมและมนุษย์ ถือเป็นหน่วยงานภาครัฐที่ให้การดูแลและแก้ไขปัญหานี้มาอย่างยาวนาน อย่างไรก็ตาม ปัญหาเรื่องคนหาย ไม่ควรเป็นเพียงภาระที่ต้องดูแลโดยภาครัฐเท่านั้น หากแต่สังคมยังควรมีส่วนร่วมในการดูแลและช่วยเหลือ ซึ่งมูลนิธิกระจกเงา จ.ส.100 และ สวพ.91 ถือเป็นภาคเอกชนที่ร่วมกันทำงานเรื่องนี้มาอย่างต่อเนื่อง และเนื่องจากปัจจุบันประเทศไทยอยู่ในยุค Thailand 4.0 กลุ่มทรูคอร์ปอเรชั่น จึงได้นำเทคโนโลยีใหม่ๆ มาพัฒนาใช้เพื่อการป้องกันและติดตามคนหาย (e-Health for Dementia) อย่างไรก็ตาม แม้เราจะมีเทคโนโลยีเพิ่มมากขึ้น แต่การมีส่วนร่วมของชุมชนก็ยังเป็นสิ่งสำคัญ สังคมต้องมีส่วนช่วยกันทำให้เกิดชุมชนที่เป็นมิตรต่อผู้ป่วยสมองเสื่อม (Dementia friendly community) ซึ่งคณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี กำลังจะริเริ่มโครงการ “โรงพยาบาลที่เป็นมิตรต่อผู้ป่วยสมองเสื่อม” ในวันที่ 21 กันยายน นี้

นอกจากนี้ ภายในงานยังประกอบด้วยนิทรรศการนวัตกรรมเพื่อการป้องกันสมองเสื่อม และการดูแลผู้ป่วยสมองเสื่อม และจำหน่ายเสื้อ “Way to Become Dementia Friendly” อีกด้วย

เพราะเรื่องราวแบบนี้อาจเกิดกับคนใกล้ตัวเราในวันใดวันหนึ่ง “ถ้าเกิดแบบนี้กับครอบครัวคุณ...คุณจะทำอย่างไร”Ways to Become Dementia Friendlyแต่ถ้าคนในสังคมเข้าใจอาการของผู้ป่วย เปลี่ยนแปลงการปฎิบัติกับคุณยายสักเล็กน้อย

😊 มอบรอยยิ้ม
👂รับฟัง
♥️ให้ความเข้าใจ และ
🤝ยื่นมือเข้าไปช่วยเหลือ

ก็จะทำให้โลกนี้ยังสดใสสำหรับเธอ

มาร่วมกันรณรงค์ 🏃‍♀️🏃‍♀️🏃‍♀️🏃‍♀️🏃‍♀️🏃‍♂️🏃‍♂️🏃‍♂️ แบ่งปันความโอบอ้อมอารี เพื่อสร้างสังคม👫ที่น่าอยู่ของเรา

แต่ถ้าคนในสังคมเข้าใจอาการของผู้ป่วย เปลี่ยนแปลงการปฎิบัติกับคุณยายสักเล็กน้อย

😊 มอบรอยยิ้ม
👂รับฟัง
♥️ให้ความเข้าใจ และ
🤝ยื่นมือเข้าไปช่วยเหลือ

ก็จะทำให้โลกนี้ยังสดใสสำหรับเธอ

มาร่วมกันรณรงค์ 🏃‍♀️🏃‍♀️🏃‍♀️🏃‍♀️🏃‍♀️🏃‍♂️🏃‍♂️🏃‍♂️ แบ่งปันความโอบอ้อมอารี เพื่อสร้างสังคม👫ที่น่าอยู่ของเรา

 

มาช่วยกันรณรงค์ สร้างสังคมที่เป็นมิตรกับผู้มีภาวะสมองเสื่อม แบ่งปันความโอบอ้อมอารี ด้วย 4 วิธีง่าย ๆ คือ มอบรอยยิ้ม รับฟัง ให้ความเข้าใจ และยื่นมือเข้าไปช่วยเหลือ  แต่ถ้าคนในสังคมเข้าใจอาการของผู้ป่วย เปลี่ยนแปลงการปฎิบัติกับคุณยายสักเล็กน้อย

😊 มอบรอยยิ้ม
👂รับฟัง
♥️ให้ความเข้าใจ และ
🤝ยื่นมือเข้าไปช่วยเหลือ

ก็จะทำให้โลกนี้ยังสดใสสำหรับเธอ

มาร่วมกันรณรงค์ 🏃‍♀️🏃‍♀️🏃‍♀️🏃‍♀️🏃‍♀️🏃‍♂️🏃‍♂️🏃‍♂️ แบ่งปันความโอบอ้อมอารี เพื่อสร้างสังคม👫ที่น่าอยู่ของเรา

รายละเอียดเพิ่มเติม www.azthai.org และ Facebook: สมาคมผู้ดูแลผู้ป่วยสมองเสื่อม

ข่าวสารสมาคม